ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การศึกษาวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศของผู้เรียน

Title
การศึกษาวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศของผู้เรียนที่ปรากฎในฐานข้อมูลบทคัดย่อปริญญานิพนธ์ (PQDT) ปี พ.ศ. 2544 - 2549
Title Alternative
A study of English learning strategies of learners as a foreign language in PQDT abstracts from 2001-2006

Organization : บัณฑิตวิทยาลัย
Subject
Classification :.DDC: 428
Description
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดม่งหมายเพื่อศึกษาวิธีการเรียนรู้ ในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ และเสนอแนะแนวทางการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศของผู้เรียนที่ปรากฎในฐานข้อมูลบทคัดย่อปริญญานิพนธ์ (PQDT) ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาบทคัดย่องานวิจัยวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พศ. 2544-2549 ในฐานข้อมูลปริญญานิพนธ์ของต่างประเทศ (PQDT, ProQuest dissertation & thesis) โดยกำหนดเกณฑ์ในการเลือกดังนี้ เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ เป็นงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา เป็นงานวิจัยที่มีรายงานเนื้อหาและผลค่าสถิติที่จำเป็นและเพียงพอต่อการศึกษา ผลวิจัยพบว่า ในปี 2547 มีจำนวนงานวิจัยมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบระดับการศึกษา พบว่าระดับมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย เป็นระดับที่มีจำนวนงานวิจัยมากกว่าระดับอื่นๆ นอกจากนี้ทักษะการอ่าน เป็นทักษะที่มีจำนวนงานวิจัยมากที่สุด ส่วนประเทศที่ผู้เรียนที่ได้รับการวิจัยการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากที่สุด คือ ไต้หวัน และ งานวิจัยส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ตรวจสอบ หรือ เปรียบเทียบ จากการศึกษาเนื้อหาของบทคัดย่องานวิจัย พบว่ามีงานวิจัยจำนวนมากใช้วิธีการเรียนรู้อภิปัญญา (metacognition) และ เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร (information and communication technology) ในทุกทักษะ โดยเฉพาะทักษะการเขียนและการอ่าน ส่วนด้านทักษะการพูดนั้น มีการใช้วิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (cooperative learning) และมีการใช้สื่อ (the use of media) สำหรับทักษะการฟัง นอกจากนี้ผลวิจัยด้านปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ พบว่า เจตคติของผู้เรียน ระดับความสามารถ เพศ อายุ ระดับการศึกษา คะแนนของผู้เรียน จำนวนปีที่เรียนภาษา การสนับสนุนจากผู้ปกครอง การบริหารงานของสถานศึกษา ความยากของการเรียนรู้ภาษา พื้นฐานครอบครัว ประสบการณ์การเรียนภาษามาก่อน วัฒนธรรม และความคุ้นเคยกับการเรียนในอังกฤษ การติดต่อสื่อสารต่อคนที่พูดอังกฤษเป็นภาษาหลัก การชมเชย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้วิจัยเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ ใน 3 แนวทางด้วยกัน ดังต่อไปนี้ 1) วิธีการเรียนรู้อภิปัญญา (metacognition) ซึ่งใช้ การวางแผน (planning) การตรวจสอบ (monitoring) และการประเมินผล (evaluation) ควบคุมกระบวนการทางปัญญาในการเรียนรู้ 2) การเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร (Information and communication Technology) โดยเฉพาะการใช้สื่อออนไลน์ (online) ซึ่งจำนวนผู้ใช้มีมากขึ้นทั่วโลก 3) การใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (cooperative learning) ตามแนวคิดของ ไวกอตสกี (Vygotsky) ในการใช้ปฏิสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาสติปัญญา วิธีการเรียนรู้ทั้ง 3 ด้านนี้ เป็นสิ่งสำคัญต่อการเรียนรู้และการสอนทักษะฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ นอกจากนี้ผู้สอนควรคำนึงถึงเจตคติของผู้เรียน ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ และการศึกษาสภาพปัญหาในการเรียนรู้ เพื่อนำมาแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาวิธีการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้นไป เพื่อให้ผู้เรียนรู้ได้ประสบความสำเร็จในการสื่อสารภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ The purpose of this research was to study English learning strategies and recommendations for the application of how to manage learning. The sample consisted of abstracts which were published in PQDT database of year 2001-2006. Data was collected with the following criteria : International Dissertation Abstracts, abstracts relating to the four skills and sufficient information. The study of abstracts by using percentage show the number of abstracts in five categories : the year of abstracts, level of learners, English learning strategies in writing reading speaking and listening, countries and objective of thesis. Findings which emerged from this study found that majority of abstracts are in the following : Year 2007, level of learners at college and university, focus on reading strategies, from Taiwan and with the objective of studying, investigation and comparison. The content of the abstracts was used to analyze English learning strategies in the four skills area and learning factors. The majority of abstracts reveal that metacognitive strategy and the use of information and communication technology were found across skills especially in writing and reading, cooperative learning in speaking, and the use of media in listening. In addition, the factors such as attitude, age, gender, background of learner, parental support, language proficiency, compliment, culture, curriculum, number of year studying in English, the opportunity to contact native English speaker, and learning method have a greatest effect on learning English. The researcher recommends 3 learning strategies 1) metacognition which have 3 components : planning, monitoring and evaluation to enhanced the proficiency of leaning English. 2) information and communication technology, especially online technology which is increasing used worldwide. 3) cooperative learning is based on Vygotsky theory that social interacton is important for language development. All three categories are important when teaching students in reading writing speaking and listening. The students also stated that motivation also plays a significant role in learning English as a foreign language successfully.
Publisher
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: ภูเก็ต
Email: library@pkru.ac.th
Role: ประธานกรรมการที่ปรึกษา
Date
Created: 2550
Modified: 2553-10-01
Issued: 2553-07-28
Type
รูปภาพ/Image
Format
application/pdf
Source
CallNumber: TH 428 ก17ก
Language
tha
Coverage
Spatial: ไทย (ภาคใต้)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

หลักธรรมาภิบาล

ชื่อเรื่อง  การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลพบุรี เพชรเกล้า ทองนาค. (2557) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดลพบุรี .             มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี/ลพบุรี. ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ชื่อเรื่อง  การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษา สุจิตรา มีจำรัส . (2550) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร:กรุงเทพฯ. ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- การ

ผลงานของนางสาวอรุณทิพย์ โผนประสิทธิ์ เลขที่ 17 Med.4

นางสาวอรุณทิพย์  โผนประสิทธิ์  โรงเรียนศึกษานารีวิทยา นักศึกษาปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา รุ่น 4 บันฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธนบุรี -----------12 พฤษภาคม 2561---------------

ระบบอนุมัติ Training OBEC

นางสาวอรุณทิพย์  โผนประสิทธิ์  โรงเรียนศึกษานารีวิทยา Med.4 เลขที่ 17 สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาธนบุรี ----------------------------------------------------------------------- ขั้นตอนการอนุมัติการลงทะเบียนหลักสูตรของครู              สำหรับผู้อำนวยการโรงเรียน เมื่อได้แจ้งจาก Admin ของเขตแล้ว ขั้นตอนที่ 1 ขั้นเตรียมการ (เข้าสู่ระบบอนุมัติของผู้อำนวยการโรงเรียน)      1. เข้าเมล์ตนเอง (ที่แจ้งไปพร้อมกับข้อมูล เลขบัตรประชาชน ชื่อ-สกุล E-mail เบอร์โทร โรงเรียน)      2. คลิกที่ spkobec แจ้งขั้นตอนการ Reset รหัสผ่านใหม่ (ระบบอนุมัติการอบรม) ชื่อเจ้าของเมล์ดังภาพข้างบน      3. คลิกที่ข้อ 1 คลิกลิงค์ http://training.obec.go.th/... แล้วจะปรากฎดังภาพข้างล่าง      4. ตั้งค่ารหัสผ่านใหม่ของตนเอง (4-12 ตัวอักษรภาษาอังกฤษผสมตัวเลข) เพื่อจะเข้าสู่ระบบการอนุมัติการอบรมครู ( โปรดจดและจำให้ดี อย่าลืมเด็ดขาด ) แล้วคลิกตั้งค่าเป็นอันเสร็จสิ้นขั้นเตรียมการ ขั้นตอนที่ 2 การเข้า...